วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

งานชิ้นที่สอง

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทอย่างกว้างขวางในทุกวงการ เทคโนโลยีสารสนเทศกลายเป็นเครื่องมือสำคัญของการทำงานทุกด้าน นับตั้งแต่ทางด้านการศึกษา พาณิชย์กรรม เกษตรกรรม อุตสาหกรรม สาธารณสุข การวิจัยและพัฒนา ตลอดจนด้านการเมืองและราชการ อันที่จริงแล้วจะเห็นว่าไม่มีงานด้านใดที่ไม่มีผู้คิดประยุกต์หรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปช่วยให้การทำงานนั้น ๆ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังต่อไปนี้ คือ

1. เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ, กล้องดิจิทัล, กล้องถ่ายวีดีทัศน์, เครื่องเอ๊กซเลย์ เป็นต้น

2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก, จานแม่เหล็ก, จานแสงหรือจานเลเซอร์, บัตรเอทีเอ็ม, แผ่นซีดีหรือดีวีดี เป็นต้น

3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, แฟ็กซ์ เป็นต้น

5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม เป็นต้น

6. เทคโนโลยีที่ใช้สำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์, วิทยุกระจายเสียง, โทรเลข และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกล

จากการเรียนรู้เทคโนโลยีในห้องทำให้ได้ประโยชน์ต่างๆ ดังนี้

1. ช่วยให้มีการตัดสินใจที่ดีขึ้น จากการได้ทราบรายละเอียดของเทคโนโลยีต่างๆไป ช่วยให้ตัดสินใจเลือกซื้อเทคโนโลยีที่เหมาะต่อการใช้งานได้ เช่น จะซื้อคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้งานทั่วไป ก็เลือกที่มีฟังก์ชันการใช้งานปกติก็พอ ไม่จำเป็นต้องเลือกที่มีคุณภาพสูง เพราะถึงแม้จะซื้อไปแต่ถ้าไม่ได้ใช้ก็เปล่าประโยชน์ เป็นเพียงแค่การอวดเทคโนโลยีโชว์กันเท่านั้น

2. ลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ทำให้สะดวก รวดเร็วในการทำงาน และประหยัดด้วย เช่น การส่งงานผ่านทางอินเตอร์เน็ต ที่สะดวก รวดเร็ว และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปริ้นงานส่ง

3. เพิ่มคุณภาพสินค้าหรือบริการ เช่น ลูกค้าสามารถติดต่อกับศูนย์บริการเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติม หรือรับบริการได้สะดวกขึ้น พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนโดยมีการค้นคว้าหาข้อมูลหรือรูปภาพเพิ่มเติมจากเว็บไซด์ต่างๆ ที่นอกเหนือจากห้องสมุด เป็นการฝึกให้รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น เป็นต้น

4. เพิ่มรายได้ของธุรกิจ เนื่องจากผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงหรือบริการที่ดีขึ้น สามารถแข่งขันได้มากขึ้น

5. ผลิตสินค้าใหม่ๆหรือบริการใหม่ๆ ระบบที่พัฒนาขึ้นอาจเป็นที่ต้องการของหน่วยงานอื่นหรือทำให้เกิดการขยายกิจการ เช่น การสร้างเครือข่ายห้องเรียนในการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายการสื่อสาร ทำให้สามารถจัดการเรียนการสอนพร้อมกันในสถานที่ต่างกัน เป็นต้น

6. สร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขัน

7. สร้างพันธมิตร (alliances) ในการดำเนินงาน เช่น การร่วมมือกันระหว่างครูในการจัดการเรียนการสอนที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน หรือการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ ที่มีเทคโนโลยีในระดับเดียวกันเพื่อสร้างศักยภาพในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น

8. เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ทั้งในด้านความเที่ยงตรง ความรวดเร็วในความต้องการใช้ข้อมูล ข้อมูลมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ และสามารถตรวจสอบข้อมูลได้อย่างถูกต้อง

9. ช่วยในการปรับรื้อระบบ (reengineering) และพัฒนาระบบให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรได้อย่างต่อเนื่อง โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือการปรับระบบและพัฒนาระบบให้ทันสมัยอยู่เสมอ

10. เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ควบคุมการเปิด-ปิดไฟฟ้าในบ้านผ่านรีโมท ควบคุมระบบปรับอากาศ เครื่องดูดฝุ่นอัตโนมัติ ไมโครเวฟ แฟ๊กซ์ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
11. ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศที่กระจายไปทั่วทุกแห่งทำให้ทุกคนที่สนใจมีโอกาสในการเรียนรู้ที่เท่าเทียมกัน เช่น ระบบการเรียนการสอนทางไกล ใครๆ ก็สามารถเข้าไปหาความรู้ได้ ระบบอินเทอร์เน็ตตำบล ช่วยให้เกษตรกรรู้ความเคลื่อนไหวของราคาผลผลิตในแต่ละวัน แพทย์สามารถให้การรักษาพยาบาลกับผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลโดยตรวจอาการผ่านกล้องวิดีโอจากระบบอินเทอร์เน็ตเป็นต้น
12. เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
เช่น การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียนที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้ อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นเทคโนโลยี มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลา

13. สะดวกต่อการติดต่อสื่อสาร เช่น โทรศัพท์มือถือ แฟ็กซ์ E-mail หรือผ่านทางอินเทอร์เน็ต( เช่น MSN) เป็นต้น

ตัวอย่างเทคโนโลยีที่ได้นำเสนอในห้อง กล้องดิจิตอล DSLA A330

มีคำอธิบายการใช้งานเป็นภาษาไทยในตัวกล้อง มือใหม่หัดถ่ายรูปก็สามารถใช้ได้ ปกติเวลาจะเริ่มใช้งานกล้องจะเห็นโหมดต่างๆให้เลือกมากมายและเอาจะงงว่าโหมดไหนเป็นอะไร ซึ่งกล้องรุ่นนี้จะมีภาษาไทยอธิบายในแต่ละโหมดการใช้งาน ทำให้ไม่ต้องเปิดคู่มือดูให้วุ่นวาย ความละเอียดในการถ่ายภาพสูงสุด 10.2 ล้านพิกเซล พร้อมเทคโนโลยี SteadyShot INSIDE Stabilization ป้องกันภาพสั่นไหว และระบบขจัดฝุ่นที่เซ็นเซอร์ โหมดฟังก์ชั่นต่างๆ เช่น รูปคน เป็นการถ่ายภาพบุคคล ฉากหลังจะเบลอ เน้นความคมชัดที่ตัวคน ปรับโทนสีผิวให้ดูนุ่มนวลและปรับโฟกัสที่ดวงตา นอกจากนี้ก็มีโหมดวัตถุ กีฬา ภาพวันตกดิน และภาพวิวตอนกลางคืน เป็นต้น สามารถถ่ายภาพเคลื่อนไหวได้โดยเลือกโหมดปรับความเร็วชัตเตอร์ ถ้าเลือกปรับความเร็วชัตเตอร์สูงๆ ก็ใช้กับภาพที่มีการเคลื่อนไหวเร็วๆ ภาพที่ได้ก็จะหยุดนิ่งได้ท่าไหนก็ท่านั้นเลย ถ้าปรับไปที่ชัตเตอร์ต่ำ ก็ใช้ถ่ายภาพเคลื่อนไหวปกติทั่วไป สามารถปรับรูรับแสงได้ โดยที่ปรับรูรับแสงแคบก็จะได้ภาพชัดลึก คือชัดทั้งภาพ แต่เมื่อปรับไปที่รูรับแสงกว้าง ภาพจะเป็นแบบชัดตื้น คือ ฉากหลังก็จะเบลอๆ มีหน้าจอขนาด 2.7 นิ้ว นอกจากนี้ยังสามารถปรับเอนหน้าจอ หรือดึงหน้าจอออกมาปรับขึ้น-ลงได้เพื่อสะดวกในการถ่ายภาพมุมสูงหรือต่ำ

นอกจากจะเหมาะกับใช้ในครอบครัวแล้ว ยังเหมาะกับการศึกษาในกลุ่มของสื่อสารมวลชน ซึ่งกล้องตัวนี้ก็มีฟังก์ชันโหมดต่างๆ ที่น่าสนใจเยอะ สามารถเลือกที่จะถ่ายรูปในรูปแบบต่างๆได้ง่ายขึ้น หรือกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ ก็ใช้ได้ สำหรับรูปที่เราถ่ายเองได้ ก็ไม่จำเป็นต้องหารูปทางอินเตอร์เน็ตอีก

ชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับสารสนเทศต่าง ๆ มากมาย เพื่อให้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับ

มนุษย์เป็นระบบมาก ขึ้น จึงมีการจัดการสารสนเทศเหล่านั้นให้เป็นเชิงระบบ การใช้สารสนเทศเกี่ยวข้องกับทุกคน การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความจำเป็น เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นเทคโนโลยีแห่งศตวรรษนี้ ที่ใช้ในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล การสื่อสารข้อมูลที่เห็นเด่นชัดขณะนี้ และกำลังมีบทบาทอย่างมาก และเรื่องเทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราได้จาก การนำเอาเทคโนโลยี บวกกับ การดัดแปลงสิ่งต่าง ๆ จากเทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันทั้งสิ้น โครงสร้างและรูปแบบของข้อมูลที่ประมวลผล

ด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นโครงสร้างที่จะมีรูปแบบชัดเจน การจัดการข้อมูลจึงมีข้อตกลงเฉพาะ เพราะคอมพิวเตอร์สามารถแยกแยะข้อมูลได้ง่ายข้อเด่นของการประมวลผลข้อมูลคอมพิวเตอร์ นอกจากในเรื่องความเร็วและความแม่นยำแล้ว ยังเป็นเรื่องของการคัดลอกและแจกจ่ายข้อมูล ด้วยความก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในยุคของสารสนเทศ การปรับตัวของสังคมจึงเกิด ขึ้น บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่กำลังเปลี่ยนแปลงสังคมนี้เอง ผลักดันให้เราศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น